วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 6 ทรัพย์สินทางปัญญา







         ทรัพย์สินทางปัญญา     เป็นสิทธิทางกฎหมายที่มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์    "ผลงานอันเกิดจากการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์"






ทรัพย์สินทางปัญญา เเบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้


1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial property)

2. ลิขสิทธิ์ (Copyright)




           เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม สามารถแบ่งประเภทออกได้ดังนี้

1.1 สิทธิบัตร (Patent)
1.2 เครื่องหมายการค้า (Trademark)
1.3 ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
1.4 ชื่อทางการค้า (Trade Name)
1.5 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indication)



คือ หนังสือที่สำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility) บัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตร มีสิทธิ์เด็ดขาด หรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์สิทธิที่ว่านี้จะมีอยู่เพียงช่วง

ระยะเวลาที่จํากัดช่วงหนึ่งเท่านั้น อาจแยกคํานิยามของ “สิทธิบัตร” ได้เป็น 2 ความหมาย ดังนี้

สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด

สิทธิบัตร หมายถึง สิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้น


    การประดิษฐ์  Invention   
 คือ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้

  • ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คือ เป็นการประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่เคยมีใช้หรือแพร่หลายมาก่อนในประเทศ
  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุ 20 ปี นับจากวันยื่นคำขอสิทธิบัตร


การออกแบบการผลิตภัณฑ์  Product Design 

หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิมการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้
  • ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม
  • สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับจากวันยื่นคำขอสิทธิบัตร


ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์  Utility  Model  

           ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ หรือเรียกอีกอย่างว่า อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) จะมีลักษณะคล้ายกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น

การออกแบบผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้
  • เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ คือ ยังไม่เคยมีจำหน่ายหรือขายมาก่อน หรือยังไม่เคยเปิดเผยรายละเอียด
  • อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 6 ปี นับจากวันยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร สามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี รวมเป็น 10 ปี



         เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการอาจเป็นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ
  • เครื่องหมายสำหรับสินค้า     (Goods Marks) คือตราสินค้าที่ติดอยู่กับตัวสินค้าเพื่อให้จดจำง่าย ซึ่งเราได้พบเห็นกันอยู่ทั่วไป เช่น ตราของโค้ก หลุยส์วิคตอง ที่มีรูปลักษณ์เฉพาะตัว







  • เครื่องหมายบริการ   (Service Mark) เครื่องหมายที่ใช้ในธุรกิจบริการ



  • เครื่องหมายรับรอง    (Certification Mark) เป็นเครื่องหมายที่รับรองคุณภาพของสินค้า เช่น แม่ช้อยนางรำ เชลล์ชวนชิม


  • เครื่องหมายร่วม  (Collective Mark) เป็นเครื่องหมายที่ใช้ร่วมกับบริษัทในเครือ เช่น บริษัทปูนซิเมนต์ไทย





         ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล และเป็นข้อมูลที่เจ้าของหรือผู้มีหน้าที่ควบคุมความลับทางการค้าไดใช้ มาตรการที่เหมาะสม รักษาไว้เป็นความลับ
"ข้อมูลธุรกิจที่ยังไม่เปิดเผย "
   ในกรณีที่ธุรกิจอาจมีความลับทางส่วนผสมทางการผลิต ก็อาจจดทะเบียนทางลับทางการค้า โดยที่ธุรกิจจะไม่ยอมเปิดเผยสูตรให้ผู้ใด ซึ่งผู้อื่นที่มิใช่เจ้าของความลับจะทราบคร่าวๆ เท่านั้นว่าส่วนผสมหลักคือ อะไรแต่ไม่ทราบรายละเอียดจริง



  ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ  เช่น ไทยประกันชีวิต ขนมบ้านอัยการ โกดัก ฟูจิ เป็นต้น



สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทน แทนแหล่งภูมิศาสตร์ สามรถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น มีดอรัญญิก ส้มบางมด ผ้าไหมไทย แชมเปญ เป็นต้น





                  ลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น ทรัพย์ทางปัญญา ประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ 
                 ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งสามารถซื้อขาย หรือโอนสิทธิกันได้ทั้งทางมรดก หรือ โดยวิธีอื่นๆ การโอนลิขสิทธิ์ควรที่จะทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทำเป็นสัญญาให้ชัดเจน จะโอนสิทธิทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้

งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์
  •  งานวรรณกรรม
  • งานนาฏกรรม
  • งานศิลปกรรม
  • งานดนตรีกรรม
  • งานโสตทัศนวัสดุ
  • งานภาพยนตร์
  • งานสิ่งบันทึกเสียง
  • งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
  • งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

  •  ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร
  • รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
  • ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ คำชี้แจง ของหน่วยงานรัฐหรือท้องถิ่น
  • คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
  • คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ข้างต้น ที่หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นจัดทำขึ้น
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์

  • สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์
  • เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของตน
ลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์
  • มีสิทธิ์ในการทำซ้ำ จำหน่าย ดัดแปลง  ให้เช่า  คัดลอก เลียนแบบ
  • การทำให้ปรากฎต่อสาธารณะชนหรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิของตนโดยมีค่าหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ได้
อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์


  • งานทั่วๆไป ลิขสิทธิ์จะมีตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย กรณีเป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะมีอายุ50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นมา
  • งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรืองานแพร่เสียง แพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอยู่ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  • กรณีได้มีการโฆษณางานเหล่านั้น ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอยู่ต่อไปอีก 50ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก ยกเว้นในกรณีศิลปประยุกต์ ให้มีลิขสิทธิ์อยู่ต่อไปอีก 25 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก
  • ผลภายหลังลิขสิทธิ์หมดอายุ งานนั้นตกเป็นสมบัติของสาธารณะ บุคคลใดๆ สามารถใช้งานนั้นๆ ได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
รูปแบบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา


  • การปลอมแปลง เป็นการผลิตที่มีการใช้วัสดุ รูปลักษณ์ ตราสินค้าที่เหมือนกับเจ้าของทุกประการ โดยที่ผู้ซื้ออาจแยกไม่ออกว่าเป็นของจริงหรือไม่ เช่น การปลอมนาฬิกาโรเล็กซ์ เสื้อโปโล กระเป๋าหลุยส์ วิคตอง,สินค้าของ Dior เป็นต้น
  • การลอกเลียนแบบ โดยที่ตัวสินค้ามีรูปร่างหน้าตาเหมือนสินค้าของเจ้าของผู้ผลิต แต่มีการปรับเครื่องหมายการค้าเล็กน้อย เช่น PRADA เป็นPRADO เป็นต้น
  • การลักลอบผลิต คือ การลักลอบผลิต เทปผี ซีดีเถื่อน ซึ่งเราได้พบเห็นข่าวการลักลอบผลิตอยู่เป็นประจำ เช่น ซีดีภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้งที่เคยเป็นข่าวมา สำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ทางด้านซอฟต์แวร์ 




บทที่ 5 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น










เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
            
          คือ ความเป็นอิสระในการพูดโดยปราศจากการตรวจสอบและการจำกัดความเป็นไปได้ที่จะทำการใดๆ ตามที่ตนเองต้องการ จัดเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษยชนที่พึงมี


 กฎหมายคุ้มคองสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

      ในหลายประเทศได้มีการกำหนดกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นประชาชนจึงสามารถแสดงออกทางความคิดในลักษณะต่างๆได้อย่างอิสระ
  กฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หมวดที่3 "สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน" 
      มีดังนี้

                   มาตรา 45     บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเเสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน
การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น





มาตรา 46   พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและเเสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ





  มาตรา 47  คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์





มาตรา 48    ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทนหรือดำเนินการโดยวิธีอื่นไม่ว่าด้วยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้ในทำนองเดียวกันกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าว






1.คำลามกอนาจาร
2.คำใส่ร้ายป้ายสี
3.คำยั่วยุให้เกิดความกลัว
4.คำยั่วยุให้มีการก่ออาชญากรรม
5.คำดูถูกเหยียดหยาม
6.คำปลุกปั่นก่อให้เกิดความไม่สงบ







การปกปิดชื่อจริง 

    การแสดงความคิดเห็นโดยไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวซึ่งเป็นสิทธิเสรัภาพประการหนึ่งที่พึงมี การปกปิดตัวตนที่แท้จริงได้ ทำให้เกิดการใช้สิทธิและเสรีภาพในด้านนี้เกินขอบเขต ขาดจริยธรรม หรือขาดความรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งยังเป็นเครื่องหมายในการกระทำผิดกฎหมายในรุปแบบต่างๆอีกด้วย

ระบบส่งอีเมล์นิรนาม

   เป็นโปรแกรมที่จะทำการปลดที่อยู่อีเมล์จริงของผู้ส่งออก แล้วแทนที่ด้วยที่อยู่นิรนาม ที่อยุ่ปลอม หรือไม่มีที่อยู่ผู้ส่งไปยังผู้รับ การใช้ระบบส่งอีเมล์นิรนามในทางที่ผิด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนได้

การแสดงข้อความหมิ่นประมาณ

   เป็นการใส่ความผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียชื่อเสียง เกียรติยศ และได้รับความเดือดร้อนโดยไม่มีหลักฐานยืนยัน การเเสดงความคิดเห็นใดๆ ก็พึงระวังให้การแสดงความเห็นไปโดยขอบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน

การแสดงความคิดเห็นพาดพิงบุคคลอื่นบนเว็บไซต์โดยไม่ระวัง

     อาจทำให้ได้รับความเดือดร้อนโดยไม่รู้ตัว อาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยไม่ทันตั้งตัวเนื่องจากโพสต์แสดงความคิดเห็นในลักษณะนี้
 เช่น
นาย ค  หรือ นาง ง  ด่าว่าคู่สมรสมีชู้ หรือมีเมียน้อย  ด่าว่าขายบริการทางเพศ




กฎหมายได้กำหนดให้การโพสต์ข้อความอันเข้าข่ายหมื่นประมาทนั้น อาจเสี่ยงที่จะเป็นความผิดกฎหมายทั้งทางเเพ่งและทางอาญาใน 3 มาตราดังนี้

  1.  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326  

 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมื่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งทำทั้งปรับ

 2.  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328

ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนต์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น  ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท

3.  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 423

     "ผู้ใดกล่าวหรือให้ข่าวเเพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียง หรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือ ทางเจริญของเขา โดยประการอื่น ก็ดี ท่านผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหาย อย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้นแม้ทั้งเมื่อตนมิได้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้

     ผู้ใด ส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่า เป็นความไม่จริง หากว่า ตนเองหรือ ผู้รับข่าวสารนั้น มีทางได้เสีย โดยชอบ ในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้น หาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่"