วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 2 ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ




              ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ    มีจุดเริ่มต้นมาจากความต้องการความมั่นคงปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ เนื่องจากพบว่ามีภัยคุกคามต่อความมั่นคงของคอมพิวเตอร์เป็นภัยคุกคามทางกายภาพ เช่น การลักขโมยอุปกรณ์ การโจรกรรมผลผลิตต่างๆที่ได้จากระบบ หรือการก่อวินาศกรรม เป็นต้น ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมีความก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น ก็เกิดภัยคุกคามหลายรูปแบบ เช่น การลักลอกเข้าระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต การโจรกรรมข้อมูลที่เป็นความลับ ตลอดจนการทําลายระบบด้วยวิธีการต่างๆ จึงก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อบุคคลและทรัพย์สินอย่างมาก จึงต้องมีการกําหนดขอบเขตของความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศขึ้น


ความมั่นคงปลอดภัย (security) คือสถานะที่มีความปลอดภัย ไร้กังวลกล่าวคือ อยู่ในสถานะที่ไม่มีอันตรายและได้รับการป้องกันจากภัยอันตรายทั้งที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญ

ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ (Information Security) คือการป้องกันสารสนเทศและองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงระบบฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและโอนสารสนเทศนั้นด้วย



  แนวคิดหลักของความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ





ความลับ  Confidentiality



    เป็นการรับประกันว่า ผู้มีสิทธิ์และได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ สารสนเทศที่ถูกเข้าถึงโดยบุคคลที่ไม่มีสิทธิ์หรือไม่ได้รับอนุญาต จะถือเป็นสารสนเทศที่เป็นความลับถูกเปิดเผย ซึ่งองค์กรต้องมีมาตรการป้องกัน เช่น

  •    การจัดประเภทของสารสนเทศ
  •    การรักษาความปลอดภัยให้กับแหล่งข้อมูล
  •    การกําหนดนโยบายความมั่นคงปลอดภัยและนําไปใช้งาน
  •    การใหJการศึกษาแก่ทีมงานความมั่นคลปลอดภัยและนําไปใช้






ความถูกต้อง ความสมบูรณ์ Integrity

     ความครบถ้วนถูกต้อง และไม่มีสิ่งปลอมปน ดังนั้นสารสนเทศที่มีความสมบูรณ์จึงเป็นสารสนเทศที่นําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน เช่น ถูกทําให้เสียหาย ไฟล์หาย เนื่องจาก virus, worm หรือ Hacker ทําการปลอมปน สร้างความเสียหายให้กับข้อมูลองค์กรได้ ยอดเงินในบัญชี ธนาคาร หรือ แก้ไขราคาในการสั่งซื้อ 



ความพร้อมใช้  Availability

             สารสนเทศจะถูกเข้าใช้หรือเรียกใช้งานได้อย่างราบรื่น โดยผู้ใช้ระบบอื่นที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากเป็นผู้ใช้ระบบที่ไม่ได้รับอนุญาต การเข้าถึงก็จะล้มเหลวถูกขัดขวาง เช่น การป้องกันเนื้อหางานวิจัยในห้องสมุด เนื้อหางานวิจัยจะพร้อมใช้ต้องผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาต คือสมาชิกของห้องสมุดนั่นเอง ดังนั้น จึงต้องมีการระบุตัวตน (Identification) ว่าเป็นสมาชิกห้องสมุดและพิสูจน์ได้ว่าได้รับอนุญาตจริง (Authorization)






อุปสรรคของงานความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ



1.ความมั่นคงปลอดภัย คือความไม่สะดวก ต้องเสียเวลาป้อนรหัสผ่านพิสูจน์ตัวตน





2.มีความซับซ้อนบางอย่างที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่ทราบ เช่น Port, Services ต่างๆที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่ทราบ และไม่
ได้ระวังความปลอดภัย




3.ผู้ใช้ไม่ระวัง ไม่ชํานาญและไม่ระวัง จึงตกเป็นเหยื่อของการโจมตี





4.การพัฒนาซอฟต์แวร์ไม่คํานึงถึงความปลอดภัย หรือคํานึงถึงในภายหลัง







5.เกิดสังคมการแบ่งปันข้อมูล โดยขาดความระมัดระวังการให้ข้อมูลส่วนบุคคล ทําให้เกิดช่องโหว่ของการโจมตีได้





6.มีการเข้าถึงได้ทุกสถานที่ เช่นsmart phone ,online storage หากผู้ใช้คนอื่นทราบชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้





7.มิจฉาชีพมีความเชี่ยวชาญ







8.ผู้บริหารองค์กรไม่ให้ความสําคัญ







วีดีโอ " แก๊งสังคมออนไลน์"






สรุป สิ่งที่ได้จากคลิปนี้คือ

Social network สังคมออนไลน์

 ในโลกยุคใหม่ที่ไร้พรมแดน ผู้คนสามารถเดินทางข้ามพรมแดน ข้ามกาลเวลาไปพบปะพูดคุยกับใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ย่อมได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส โดยเริ่มจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเห็นได้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลต่อระบบการศึกษาโดยตรง ทั้งนี้ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรอบรู้ จัดระบบประมวลผล ส่งผ่านและสื่อสารด้วยความเร็วสูงและปริมาณมาก นาเสนอและแสดงผลด้วยระบบสื่อต่าง ๆ ทั้งทางด้านข้อมูล รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และวิดีโอ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น